โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่
- ฮิต: 4558
การศึกษาและออกแบบโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ แนวเส้นทางส่วนใหญ่เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ โดยมีจุดเริ่มต้นของโครงการเชื่อมต่อจากแนวรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก บริเวณ กม.384+200อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ไปสิ้นสุดที่ กม.672+420 บริเวณสถานีรถไฟเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีความยาวของแนวเส้นทางโครงการทั้งสิ้น 288 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 6 จังหวัดลักษณะโครงสร้างทางวิ่งรถไฟเป็นโครงสร้างระดับพื้น 25 กิโลเมตร โครงสร้างทางยกระดับ 237 กิโลเมตร และอุโมงค์ 26 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟความเร็วสูง 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีรถไฟความเร็วสูงสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ในพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ทั้งนี้ได้เลือกใช้รถไฟความเร็วสูงแบบ Electric Multiple Unit (EMU) ขนาด 8 ตู้/ขบวน ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 542 คน/ขบวน (Narrow Body) และ 630 คน/ขบวน (Wide Body) สามารถวิ่งได้ความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีความเร็วเฉลี่ยในการเดินทาง 236 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับการตรวจสอบพื้นที่โครงการด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า แนวเส้นทางโครงการบางช่วงตัดผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 พื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม (ป่าโซน C) พื้นที่อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย พื้นที่เตรียมประกาศผนวกเป็นอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง รวมทั้งตัดผ่านแม่น้ำน่าน แม่น้ำยม และแม่น้ำวัง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักและพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติ
ที่ตั้งโครงการ :
จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่
ผู้ว่าจ้าง :
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
ลักษณะงาน :
การศึกษาความเหมาะสมของโครงการในด้านต่างๆ รวมทั้งการออกแบบรายละเอียดของการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
ประเภทของงาน :
งานทาง
ขอบเขตของงาน :
- งานวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุน
- งานออกแบบกรอบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคา
- งานจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ระยะเวลาปฏิบัติงาน :
14 เดือน (ระหว่างวันที่ 23 กันยายน 2556 ถึง วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557
บริษัทร่วมดำเนินงาน :
- บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด
- บริษัท ทีม โลจิสติกส์ แอนด์ ทรานสปอร์ต จำกัด
- บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
- บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด
- บริษัท พีบี เอเชีย จำกัด
- Tonichi Engineering Consultants,Inc.
มูลค่าโครงการ :
226,574.46 ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษา :
304 ล้านบาท
- SUKHOTHAI high speed rail station -
- SI SATCHANALAI high speed rail station -
- LAMPANG high speed rail station -
- LAMPHUN high speed rail station -
- CHIANG MAI high speed rail station -